ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1915 วิศวกรและเจ้าหน้าที่กองทัพเรือของอังกฤษกลุ่มหนึ่งได้พัฒนายานยนต์สำหรับการรบชนิดใหม่และเป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ซึ่งท้ายที่สุดแล้วได้กลายเป็นอาวุธมหัศจรรย์แห่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เจ้าหน้าที่กลุ่มนี้ได้จัดตั้งคณะกรรมการรถถังขึ้นที่กระทรวงทหารเรือ ณ ที่นั่น มีการทดลองและออกแบบต้นแบบสิ่งประดิษฐ์มากมาย แต่สุดท้ายแล้วก็ปรากฏว่าใช้งานไม่ได้ สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ดูเหลือเชื่อบนกระดาษ แต่ก็ใช้งานไม่ได้จริงในการสู้รบ
ในบรรดาความคิดแห่งนวัตกรรมทั้งหลายนี้ หลายโครงการ “ติดขัด” และเกือบจะประสบความสำเร็จ ตัวอย่างของโครงการดังกล่าวรวมถึงโครงการที่ทำการทดลองโดยนักประดิษฐ์ผู้เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ Colonel Rookes Crompton และ Lieutenant Robert Macfie เจ้าหน้าที่หนุ่มและปราดเปรื่องในกองบริการทางอากาศของกองทัพเรือ
ที่จริงแล้วรถของพวกเขามีความคล้ายคลึงกับรถถังแห่งอนาคต แต่น่าเสียดายที่สิ่งประดิษฐ์ของพวกเขานั้นไม่ได้ถูกสร้างมาให้เป็นเช่นนั้น ครอมป์ตันนั้นโชคไม่ดีเลย ในขณะที่รถของแม็คฟีได้กลายมาเป็นสิ่งประดิษฐ์อันอื้อฉาว
ประธานคณะกรรมการรถถัง Landships Committee, Eustace d’Eyncourt, ไม่ได้เอ่ยอะไรสักคำขณะประเมินผลงานทางวิศวกรรมของครอมป์ตัน เขาเคยพูดถึงครอมป์ตันครั้งหนึ่งว่า “เขาไม่เคยนำเสนอโครงการที่ทำสำเร็จซึ่งน่าจะใช้งานได้เลย” อย่างไรก็ตาม นี่เป็นความจริงเพียงแค่ครึ่งเดียวเท่านั้นซึ่งทำให้ครอมป์ตันนั้นดูแย่ที่จริงแล้วครอมป์ตันคือหนึ่งในบรรดาวิศวกรที่ปราดเปรื่องที่สุดในยุคของเขาเลยทีเดียว นี่คือสิ่งที่เขาสร้างขึ้นในช่วงเวลาห้าเดือน.
ป้อมปืนหมุนได้, ปืนกลแบบหันเผชิญหน้า, และระบบขับเคลื่อนล้อหน้าของรถของครอมป์ตัน และแม็คฟีก็ถูกนำมาใช้เป็นรถถังแห่งอนาคต
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 1915 ครอมป์ตันได้นำเสนอรถที่มีชื่อเดียวกับรถถังคันแรกต่อคณะกรรมการรถถัง นั่นคือ มาร์ค 1 ซึ่งมีโครงรถยาว 12 เมตรและมีช่องด้านข้าง สำหรับใช้ในการขนส่งทหารราบ รถคันนี้ออกแบบมาเพื่อใช้ขับเคลื่อนโดยใช้ล้อของบรามาห์ โจเซฟ ดิพล็อค ที่เรียกกันว่าล้อ “ตีนตะขาบ” นี่ไม่ใช่เรื่องที่ผิดพลาด ตีนตะขาบเส้นเดียวถูกนำมาใช้แทนที่ล้อคู่ ครอมป์ตันตัดสินใจใช้โซ่ที่กว้างเส้นเดียวให้หมุนอยู่ใต้รถ คณะกรรมการรถถังอนุมัติโครงการนี้และตั้งใจที่จะสั่งรถต้นแบบ 12 คัน
ในขณะเดียวกันนั้นเอง บรรดาสมาชิกของคณะกรรมการรถถังก็ได้เดินทางไปยังแนวรบในฝรั่งเศสกองบัญชาการไม่อนุญาตให้แขกของ “กองทัพเรือ” เข้าใกล้แนวรบ อย่างไรก็ตาม ครอมป์ตันก็ได้เห็นสิ่งที่เขาต้องการเพียงพอแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สภาพภูมิประเทศระยะทางหลายไมล์จากแนวรบ และก็ตระหนักได้ว่ารถของเขาคงไม่สามารถขับข้ามสภาพภูมิประเทศเช่นนั้นได้
ครอมป์ตันจึงตัดรถของเขาออกเป็นสองชิ้นเหมือนกับที่นักมายากลแสดงกลโดยใช้เลื่อยและกล่อง แล้วประกอบเข้ากันใหม่โดยใช้ข้อต่อ เป็นผลให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ที่แตกต่างไปจากเดิมซึ่งเรียกว่า มาร์ค 2ครอมป์ตันพิจารณาแล้วว่ารถ “ที่แยกออกเป็นชิ้นส่วน” จะพิชิตหลุมระเบิดปืนใหญ่ได้ง่ายกว่ามาก เขายังเปลี่ยนระบบช่วงล่างแบบดิพล็อคไปใช้ล้อตีนตะขาบที่ใช้งานจริงได้ดีกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างดูเหมือนว่าจะพร้อมสำหรับการผลิตต้นแบบ แต่อนิจจา จู่ๆ สถานการณ์ก็เปลี่ยนไป
คณะกรรมการรถถังสั่งให้ทำการเปลี่ยนแปลง แทนที่จะเป็นรถหุ้มเกราะเพื่อขนส่งทหารราบครอมป์ตันกลับต้องพัฒนารถเพื่อใช้รบขึ้น และตอนนี้นี่เองที่มาร์ค 3 ได้ถือกำเนิดขึ้นมารถรุ่นนี้มีลักษณะเด่นตรงที่ฐานปืนที่หมุนได้และปืนกลมีลักษณะเอียงลาดที่ด้านหน้ารถนี้มีคุณสมบัติเหมือนรถถัง และเป็นอย่างนั้นจริงๆ นักประดิษฐ์ผู้นี้สร้างผลงานของเขาสำเร็จหลังจากที่ทำแบบจำลองไปได้สามตัวเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1915 แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีข้อต่อที่เชื่อมระหว่างทั้งสองส่วนอยู่ ส่งผลให้เป็นจุดด้อยของรถรุ่นนี้
.
หลังจากนั้นสองเดือน มีโชคร้ายสองอย่างเกิดขึ้นกับครอมป์ตัน ลูกของเขาได้รับบาดเจ็บที่แนวรบและคณะกรรมการได้แจ้งให้ผู้พันทราบว่าโครงการของเขาจะต้องยุติลง ครอมป์ตันเสนอตัวทำงานในแขนงอื่น แต่เขาก็โน้มน้าวได้ไม่สำเร็จ
บางทีมันอาจจะเป็นการเสียเวลาเปล่าก็เป็นได้แนวทางการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมของครอมป์ตันนั้นน่าสนใจ แต่ใครจะไปรู้ได้ว่า เขาอาจจะสร้างบางอย่างสำเร็จก็เป็นได้ถ้าเขามีเวลามากอีกสักหน่อย
คณะกรรมการรถถังต้องเผชิญกับเรื่องอื้อฉาวหลายเรื่อง ร้อยโทโรเบิร์ต แม็คฟี แห่งกองบริการทางอากาศของกองทัพเรือกลายเป็นบุคคลที่โดนจับตามองในเรื่องอื้อฉาวเรื่องหนึ่ง ในฐานะนักประดิษฐ์ เขาชื่นชอบรถตีนตะขาบ และเขาก็ยังเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่นำเสนอโครงการในการประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการ
เขาไม่ได้เข้าร่วมประชุมครั้งต่อๆ มา แต่ยังได้รับเงินจำนวน 700 ปอนด์สำหรับโครงการของเขาจากผู้บัญชาการกองพลยานเกราะของกองบริการทางอากาศแห่งกองทัพเรือ ในปี 1915 เงิน 700 ปอนด์นั้นเป็นเงินจำนวนมากโขทีเดียว แม็คฟีตั้งใจที่จะใช้เงินก้อนนี้ในการติดตั้งล้อตีนตะขาบกับรถบรรทุกเก่าขนาด 5 ตันคันหนึ่งของบริษัทออลเดยส์ ร้อยโทผู้นี้ได้บอกแนวความคิดของเขาให้นักประดิษฐ์อีกคนหนึ่งทราบ นั่นคือ เมอร์เรย์ ซูเอเทอร์ ซึ่งช่วยให้หนุ่มผู้ที่มีความกระตือรือร้นผู้นี้ได้พบกับฐานการผลิตที่บริษัทเล็กๆ แห่งหนึ่งชื่อว่า “เนสฟิลด์ แอนด์ แม็คเคนซี” และที่นี่เองคือที่ที่ทุกอย่างเริ่มต้นขึ้น
แม็คฟีเริ่มลงมือทำงานด้วยความกระตือรือร้นแต่อัลเบิร์ต เนสฟิลด์ ซึ่งเป็นประธานบริษัทกลับไม่ชอบเขาเนสฟิลด์เขียนจดหมายไปยังเจ้าหน้าที่ระดับสูงโดยเรียกร้องให้ส่งแม็คฟีไปที่อื่นหรือหาคนมาแทนเขา ในเวลาเดียวกันนั้นเอง เนสฟิลด์ก็เริ่มสร้างรถของตัวเองโดยใช้ตีนตะขาบสองชุด โดยที่ตีนตะขาบชุดหน้านั้นมีไว้เพื่อบังคับให้รถเลี้ยว
เนสฟิลด์สร้างแบบจำลองขนาดจิ๋วขึ้นมาหลายแบบและนำเสนอให้กับคณะกรรมการรถถังเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม1915 แม็คฟีโกรธมากและบุกเข้าไปยังที่ประชุม กล่าวหาว่าเนสฟิลด์ขโมยงานของเขาไปซึ่งเป็นผลให้เกิดการต่อสู้กันในศาล
เป็นเรื่องยากที่จะพิจารณาว่าใครถูก ที่จริงแล้วเนสฟิลด์พยายามที่จะจดสิทธิบัตรโครงการของเขาโดยที่ไม่ได้ใช้ความรู้จากแม็คฟี ซึ่งในเวลาต่อมาแม็คฟีเองก็ได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่ของเขาไปในทางที่ผิดและเก็บวัสดุทุกอย่างเอาไว้เอง
เมื่อพิจารณาจากเอกสารที่เก็บรักษาไว้ จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันระหว่างต้นแบบที่แต่ละคนได้ออกแบบไว้ เช่น รถของแม็คฟีนั้นมีพวงมาลัยอยู่ที่ด้านท้ายของรถ และยังมีคุณลักษณะที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างที่ต้องพิจารณาอีกด้วย นักประดิษฐ์ทั้งสองรายนี้เป็นกลุ่มแรกที่ติดตั้งล้อบังคับทิศทางและตีนตะขาบที่ด้านหน้าของรถ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขับข้ามภูมิประเทศ
รถของแม็คฟี-เนสฟิลด์นั้นไม่ได้รับการออกแบบมาเพื่อติดตั้งอาวุธหนัก รถนี้มีเพียงช่องที่ให้อาวุธขนาดเล็กสามารถยิงผ่านได้เท่านั้น
รถนี้มีความคล้ายคลึงกับรถหุ้มเกราะในอนาคตของอังกฤษมากกว่ารถชนิดอื่นๆ ที่คณะกรรมการเคยเห็นมาแม้ว่าจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างพวกเขา แต่แม็คฟีและเนสฟิลด์ก็พัฒนาแบบของพวกเขาไปได้ไกลกว่าวิศวกรคนอื่นๆ ภายในช่วงเวลาหกสัปดาห์ บางทีถ้าสถานการณ์ต่างไปจากนี้ ประธานคณะกรรมการก็อาจจะอนุญาตให้พวกเขาได้ทำงานของตัวเองต่อไป แต่พวกเขาไม่ต้องการที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องอื้อฉาวของแม็คฟีและเนสฟิลด์ นักประดิษฐ์ทั้งสองคนได้รับเงินจำนวน 500 ปอนด์สำหรับงานที่ตนได้ทำไว้ แล้วโครงการนี้ก็ยุติลง
ในฤดูร้อนของปี1915 กองบัญชาการทหารหัวอนุรักษ์นิยมได้ประเมินกิจกรรมการดำเนินงานของคณะกรรมการรถถังด้วยความเคลือบแคลงใจเป็นอย่างมากเช่น เอียน แฮมิลตันซึ่งเป็นผู้บัญชาการของหน่วยรบเคลื่อนที่เร็วประจำเมดิเตอร์เรเนียนได้กล่าวว่า“สงครามสนามเพลาะครั้งนี้ไม่ได้ต้องการความรู้ทางเทคนิคมากมายอะไร จริยธรรมที่สูงส่งและท้องที่เต็มไปด้วยอาหารต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด” คำพูดนี้ฟังดูมีเหตุมีผลสำหรับนักประดิษฐ์ซึ่งทำให้พวกเขาไม่สามารถพัฒนาแบบที่เหมาะสมซึ่งตรงกับความจำเป็นในระหว่างสงคราม และยังทำให้พวกเขารู้สึกว่าตัวเองเสียทั้งเวลาและเงินทองไป
ขณะที่คณะกรรมการรถถังหาหนทางที่จะแก้ปัญหาเรื่องนี้อยู่ ก็ปรากฏว่ามีรถหุ้มเกราะอยู่ในสนามรบแล้วดูเหมือนว่ารถถังจะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นไปช่วงเวลาหนึ่ง เพราะว่ามีรถหุ้มเกราะเพียงพออยู่แล้ว ในเวลาต่อมา มีการพิสูจน์ให้เห็นว่าการสันนิษฐานนี้ไม่ถูกต้อง
ที่มา: